เหรียญหลวงพ่อแดงวัดเขาบันไดอิฐ เนื้อทองแดงรุ่นแจกแม่ครัวไม่มีห่วงปี 2503 หลวงพ่อแดง เกิดเมื่อเดือนเมษายน ปีระกา พ.ศ ๒๔๒๑ (บางประวัติว่าเกิดวันพุธที่ ๑๗ กันยายน ๒๔๒๒) ที่บ้านสามเรือน หมู่ที่ ๔ ตําบลบางจาก อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี บิดาชื่อนายแป้น มารดาชื่อนางนุ่ม อ้นแสง มีพี่น้องรวมกัน ๑๒ คน ท่านเป็นคนที่ ๕ ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่เพียงคนเดียว คือ นางน้อย เกิดประดับ ท่านเป็นพี่ชายของ พระครูปัญญาโชติวัฒน์ ( เจริญ ธมฺมโชติ ) อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ จังหวัดเพชรบุรี เป็นที่น่าสังเกตว่า โยมบิดามารดาของท่านเป็นบุคคลผู้มีวาสนา เพราะมีบุตรชายอุปสมบทและครองสมณเพศอยู่จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตถึง ๒ รูป ทั้งยังได้เป็นเจ้าอาวาส ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรทั้ง ๒ รูป ด้วย ครอบครัวของท่านมีฐานะพอมีพอกิน และเป็นครอบครัวใหญ่ครอบครัวหนึ่งในละแวกนั้น เมื่อมีอายุครบบวชในปี พ.ศ ๒๔๔๑ บิดามารดาได้นําท่านไปฝากไว้กับพระอาจารย์เปลี่ยนแห่งวัดเขาบันไดอิฐ และเมื่อได้บวชตามประเพณีแล้ว (บางประวัติว่า อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๔๔๔ อายุ ๒๒ ปี ที่วัดเขาบันไดอิฐ ตําบลไร่ส้ม อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี พระครูญาณวิสุทธิ วัดแก่นเหล็ก อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ ) ได้รับฉายาว่า รตฺโต (แปลว่าสีแดง) ท่านจําพรรษาอยู่ที่วัดเขาบันไดอิฐตลอดมา หลังจากบวชเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านเล่าเรียนวิชาไสยศาสตร์และวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระอาจารย์เปลี่ยนจนจบ เมื่อพระอาจารย์เปลี่ยนได้ถึงแก่มรณภาพในปี พ.ศ ๒๔๖๑ หลวงพ่อแดงซึ่งขณะนั้นเพิ่งมีอายุย่างเข้า ๔๐ ปี พรรษาที่ ๒๐ ก็ได้รับตําแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาบันไดอิฐแทนเป็นต้นมา ท่านมีวิทยาคมขลังเป็นที่นับถืออย่างมาก ในช่วง พ.ศ ๒๔๗๙ ได้เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรงขึ้นที่จังหวัดเพชรบุรีทําให้วัวควายล้มตายลงเป็นอันมาก ท่านได้ปลุกเสกผ้ายันต์สีแดง ขนาดเท่าผ้าเช็ดหน้า ให้ชาวบ้านนําไปผูกไว้ที่ปลายไม้ไผ่ แล้วปักไว้ที่คอกวัวควาย คอกใดที่ผ้ายันต์ของท่านมาปักไว้ วัวควายของคอกนั้นจะไม่เป็นโรคติดต่อ ชื่อเสียงของท่านจึงโด่งดังเป็นที่รู้จักแต่นั้นมา มีผู้คนไปขอของดีไว้ป้องกันตัวจากท่านมิได้ขาด ท่านจึงได้ทําผ้ายันต์และตะกรุดไว้แจก ผู้ที่นําตะกรุดและผ้ายันต์ของท่านไปบูชามักจะประสบกับอิทธิปาฏิหาริย์อยู่เสมอ