การตลาดของแบรนด์เครื่องเสียงมักจะมีให้เห็นบ่อย ๆ อยู่สองลักษณะ อย่างแรกคือออกแบบเครื่องรุ่นที่ดีที่สุดแบบไม่มีข้อจํากัดในระดับไฮเอ็นด์ แล้วค่อยขยายไลน์สินค้าเป็นรุ่นรองลงมาให้กับนักเล่นในราคาที่จับต้องง่ายขึ้น อย่างหลังคือเริ่มจากกลุ่มสินค้าระดับเริ่มต้นถึงกลาง มีความคุ้มค่าต่อราคาสูง เมื่อความพร้อมถึงจึงขยายไลน์สินค้าขึ้นไปยังกลุ่มไฮเอ็นด์ภายหลัง สําหรับCambridge Audioแบรนด์เครื่องเสียงเก่าแก่จากประเทศอังกฤษ ที่มีประสบการณ์งานวิศวกรรมด้านเสียงมาเป็นเวลากว่า 50 ปี และสร้างชื่อมาจากเครื่องเสียงที่ให้ประสิทธิภาพต่อราคาสูงจนติดตลาดมาช้านานรวมทั้งในบ้านเรา จนช่วงปีที่แล้ว ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวไลน์สินค้าระดับไฮเอ็นด์อย่างอนุกรมEDGEซีรียส์ ที่ใช้ทีมวิศวกร 9 คนกับเวลาออกแบบนานถึง 3 ปี ประกอบด้วยEDGE NQปรีแอมปลิฟายเออร์พร้อมเน็ตเวิร์คในตัว,EDGE Wเพาเวอร์แอมปลิฟายเออร์ และEDGE Aอินทิเกรตแอมปลิฟายเออร์ ส่วนตัวผู้เขียนมองว่าการขยายตลาดสินค้าจากกลุ่มระดับเริ่มต้นไปสู่ไฮเอ็นด์นั้น มีความท้าทายอยู่พอสมควร ไม่ว่าจะในเรื่องของคุณภาพที่ต้องพิสูจน์ว่าเทียบชั้นหรือเหนือกว่าคู่แข่งในระดับเดียวกันที่มีอยู่มากมาย และภาพลักษณ์ของสินค้าที่ต้องดูโดดเด่นเพื่อสร้างภาพจําใหม่ ๆ ให้กับกลุ่มลูกค้าอีกทางหนึ่ง ซึ่งทั้งสองอย่างนั้นมีอยู่ในตัวของEDGEซีรี่ยส์อย่างครบถ้วน รวมถึงEDGE Aที่นํามาทดสอบในครั้งนี้ เพราะหลังจากเปิดตัวไม่นานก็ทยอยกวาดรางวัลจากหลายสํานักมามากมายทั้งฝั่งยุโรปและอเมริการายละเอียด ที่น่าสนใจCLASS XA AMPLIFICATIONอนุกรมEDGEซีรียส์นั้นออกแบบไร้ซึ่งการประณีประนอม เรียกว่ามีอะไรดีก็ใส่มาให้หมด คีย์เทคโนโลยีสําคัญที่ทางCambridge Audioพัฒนาเพื่อนํามาใช้กับอินทิเกรตแอมป์รุ่นนี้ อันดับแรกที่ต้องพูดถึงคือClass XA Amplificationซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ต่อยอดมาจากClass XDเดิมในรุ่น 851 ซีรียส์ เป็นการจัดวงจรขยายแบบใหม่ นําเอาข้อดีของคลาสAและABมารวมกัน ปกติแอมป์คลาสABมักจะใช้ทรานซิสเตอร์สองตัวขยายสัญญาณแบบพุช-พูล(Push-Pull)แบ่งกันทํางานคนละครึ่งคลื่นบวก-ลบ และมีการป้อนกระแสไฟเลี้ยง (ไบอัส) ปริมาณน้อย ๆ ไหลผ่านทรานซิสเตอร์แม้ไม่มีสัญาณอินพุตเข้ามา ปัญหาคือ ณ รอยต่อรูปคลื่นสัญญาณซีกบวก-ลบบริเวณจุดตัดศูนย์(Zero Crossing Point)จะสามารถได้ยินและวัดค่าความเพี้ยนได้ เมื่อนํามาประยุกต์ใช้กับEDGEซีรียส์ ทางวิศวกรของCambridge Audioจึงเพิ่มการจัดกระแสไฟเลี้ยง (ไบอัส) การทํางานของทรานซิสเตอร์ทั้งสองตัวใหม่ เพื่อขยับจุดตัดสัญญาณไปยังที่หูมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้แทน เราจึงไม่ได้ยินถึงความเพี้ยนดังกล่าว วิธีนี้ทําให้แอมป์ขณะทํางานร้อนขึ้นกว่าคลาสABปกติบ้าง แต่ให้คุณภาพเสียงเหมือนฟังจากแอมป์คลาสAแท้ ๆTWIN TOROIDAL TRANSFORMERSCambridge Audioนั้น เป็นบริษัทผลิตแอมป์ที่บุกเบิกการนําหม้อแปลงเทอรอยด์มาใช้กับโปรดัคท์ของตัวเองตั้งแต่ยุคแรก ๆ อย่างP40 ในปี 1968 ดังนั้น จึงรู้ทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งของการใช้หม้อแปลงเทอรอยด์เป็นอย่างดีเห็นเป็นอินทิเกรตแอมป์แบบนี้ แต่น้ําหนักตัวเกือบ 25 กิโลกรัม เพราะภาคจ่ายไฟของEDGE Aใช้เทคนิคการวางหม้อแปลงเทอรอยด์ขนาดเขื่องสองตัวแบบหันหลังชนกัน(Opposing Symmetry)เพื่อให้สนามแม่เหล็กภายในของหม้อแปลงทั้งสองหักล้างกันเอง ผลคือลดอาการฮัมได้อย่างมีนัยยะสําคัญ และถ่ายทอดรายละเอียด เสียงได้ชัดเจนในทุกระดับความดังHIGH-PERFORMANCE USB DAC นอกจากนี้ยังแยกหม้อแปลงเทอรอย์ลูกเล็กอีกหนึ่งตัวสําหรับวงจรดิจิทัลต่างหาก ภาคถอดรหัสใช้ชิปESS Sabreเบอร์ES9018K2Mที่รองรับการเล่นไฟล์เพลงไฮเรสความละเอียดPCM 32-bit / 384 kHzและDSD 11.2 MHz(แบบDoP) ผ่านช่องUSB 2.0 รองรับการเชื่อมต่อทุกรูปแบบ รวมถึงให้ช่องHDMIแบบAudio Return Channel (ARC)สําหรับเชื่อมต่อกับทีวีรุ่นใหม่ที่มีช่องนี้มาด้วย รองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สายความละเอียด 24-bit / 48 kHzผ่านaptX HDบลูทูธ (มีเสามาให้) คุณภาพเสียงดีกว่าบลูทูธทั่วไปอย่างเห็นได้ชัดหมายเหตุ สําหรับท่านที่เชื่อมต่อEDGE AกับPCทางสายUSBให้เข้าไปดาวน์โหลดไดร์เวอร์USB
Audioตัวล่าสุดv4.47 ได้ที่https://techsupport.cambridgeaudio.com/hc/en-us/sections/200295012-Cambridge-Audio-USB-Audio-2-0-Windows-driverDC SERVO ออกแบบPCBบอร์ดเอง แยกบอร์ดวงจรภาคขยายซ้ายขวาแบบดูอัลโมโน ภาคปรีแอมป์เน้นทางเดินสัญญาณที่สั้นและใช้อุปกรณ์น้อยชิ้นมากที่สุด มีระบบDC Servoประสิทธิภาพสูงที่คอยตรวจสอบและหักล้างไฟดีซีจากop-ampแทนการใช้คาปาซิเตอร์เพื่อหลีกเลี่ยงสีสันปนเปื้อนในน้ําเสียง ทําให้สัญญาณเอาท์พุตยังคงเหมือนต้นฉบับมากที่สุด ตามคอนเซ็ปการออกแบบของCambridge AudioELEGANT DESIGN ตัวเครื่องออกแบบมาในสไตล์เรียบง่ายแบบมินนิมอล ตัวถังอลูมิเนียมอโนไดซ์มีฮีตซิ้งค์ระบายความร้อนขนาดใหญ่ด้านข้าง ด้านบนปิดด้วยแผ่นอลูมิเนียมหนา ด้านหน้าเครื่องมีปุ่มสแตนด์บายอยู่ด้านซ้าย ด้านขวาเป็นช่องเสียงหูฟัง ตรงกลางจะมีปุ่มโวลุ่มคอนโทรลและซีเล็คเตอร์ที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวแบบDual-dialปุ่มข้างหน้าจะเป็นโวลุ่มและปุ่มวงรอบนอกจะเป็นซีเล็คเตอร์ ประกอบขึ้นด้วยชิ้นส่วนกว่า 31 ชิ้น ใช้วัสดุเกรดสูงระดับอากาศยาน ให้ความรู้สึกเวลาใช้งานที่ดีเลยทีเดียว แถมมีเมมโมรี่จําตําแหน่งของโวลุ่มตอนใช้ช่องหูฟังโดยอัตโนมัติ แผงหน้ารอบปุ่มโวลุ่มจะระบุช่องอินพุตต่าง ๆ ไว้ทั้งหมด 9 ช่องพร้อมไฟแอลอีดี น่าเสียดายที่รุ่นนี้ไม่มีหน้าจอแสดงผลเหมือนปรีแอมป์รุ่นEDGE NQถ้ามองในห้องที่แสงน้อยอาจสังเกตสัญลักษณ์ช่องอินพุตได้ยากสักหน่อย ต้องอาศัยการจําตําแหน่งของไฟแอลอีดี ผู้เขียนชอบแผงขั้วต่อด้านหลังเป็นพิเศษ นอกจากจะให้ช่องอินพุต เอาท์พุตมาอย่างเพียงพอ ทั้งแบบบาล้านซ์XLRและอันบาล้านซ์RCAแล้วยังใช้ขั้วต่อเกรดดีชุบทองทั้งหมดทุกช่องจริง ๆ ไม่เว้นแม้แต่ช่องเสียบสายไฟเอซีหรือช่องUSBอินพุต (เครื่องไฮเอ็นด์หลายเครื่องยังไม่ชุบทองทุกช่องขนาดนี้) ขั้วต่อสายลําโพงมีขนาดใหญ่แข็งแรง ทนทานต่อการใช้งานสูงสมกับเป็นเครื่องระดับพรีเมี่ยม และยังมีฟังก์ชั่นสวิตช์Auto Power Down (APD)ที่