#แหนแดง #แหนแดงสด #พันธุ์เกษตร แบ่งขายเป็นขีด หมาดๆ ไม่หนักน้ํา เอาไปขยายต่อได้ #Azolla แหนแดง (Azolla) จัดเป็นพืชน้้าขนาดเล็ก อยู่ในตระกูลเฟิร์นชนิดลอยน้้า มีขนาดเล็กเจริญเติบโตลอยอยู่บน ผิวน้้าในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ส้าหรับประเทศไทยพบได้ทั่วไปตามคู คลอง หรือแหล่งน้้าขังตามธรรมชาติต้นแหนแดง ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ คือ ล้าต้น (rhizome) ราก (root) และใบ (lobe) แหนแดงมีกิ่งแยกจากล้าต้น ใบของแหนแดง เกิดตามกิ่งเรียงสลับกันไป ใบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ใบบน และใบล่าง มีขนาดใกล้เคียงกัน ใบบนมีคลอโรฟิลล์เป็น องค์ประกอบมากกว่าใบล่างจึงมีสีเขียวเข้มกว่า ที่กาบใบบนด้านหลังมีโพรงใบและมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้้าเงิน (Blue green algae) อาศัยอยู่แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (symbiosis) เช่นเดียวกับไรโซเบียมในรากพืชตระกูลถั่ว สาหร่ายสี เขียวแกมน้้าเงินนี้สามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศแล้วเปลี่ยนเป็นสารประกอบในรูปของแอมโมเนียมให้แหนแดง เอาไปใช้ประโยชน์ได้ในอัตรา 200-600 กรัมต่อไร่ต่อวัน (Watanabeet al.,1977) แหนแดงจึงเปรียบเสมือนโรงงานผลิต ปุ๋ยไนโตรเจนทางชีวภาพ โดยผ่านกระบวนการตรึงไนโตรเจนจากอากาศของสาหร่ายสีเขียวแกมน้้าเงินที่ชื่อ Anabaena azollae ซึ่งอาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง ประโยชน์ของแหนแดง 1 สามารถทดแทน หรือลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลงได้ 2 เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินท้าให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ปรับปรุงโครงสร้างดินดีขึ้นในระยะยาว 3 ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ส้าหรับพืชผักและไม้ผล เพิ่มทางเลือกส้าหรับการผลิตพืชอินทรีย์ 4 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีลดการดูดตรึงฟอสเฟตของดิน 5 ใช้เป็นแหล่งโปรตีนส้าหรับเลี้ยงสัตว์เช่น ปลา เป็ด เป็นต้น 6 มีต้นทุนการผลิตต่้า แหนแดงเติบโตและขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว แม้เลี้ยงในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่้า 7 ลดปริมาณวัชพืชในนาข้าว แหนแดงที่ขยายคลุมผิวน้้าจะท้าให้แสงแดดส่องไม่ผ่าน จึงช่วยลดการเจริญเติบโต ของวัชพืชจ้าพวกสาหร่ายลงได้ ข้อดีของแหนแดงคือสามารถใช้ได้ทันทีไม่ต้องรอกระบวนการหมักท้าเป็นปุ๋ยหมัก เนื่องจากมีค่าสัดส่วนคาร์บอน ต่อไนโตรเจนต่้าอยู่ระหว่าง 8-13 ท้าให้สามารถย่อยสลายปลดปล่อยธาตุอาหารได้รวดเร็ว การขยายพันธุ์และเพาะเลี้ยงแหนแดง แหนแดงมีการขยายพันธุ์ 2 แบบด้วยกัน คือแบบมีเพศ และแบบไม่มีเพศ ซึ่งแบบมีเพศจะเกิดเมื่อแหนแดงอยู่ใน ระยะที่พร้อมจะผลิตสปอร์มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เป็นเพศผู้และเพศเมียแล้วมาผสมพันธุ์กัน โดยสปอร์จะแก่ในเวลา ประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงเจริญเป็นต้นอ่อนแหนแดงที่มีโครโมโซมเป็น 2n (diploid) ส่วนการขยายพันธุ์แบบไม่มี เพศในธรรมชาติแหนแดงจะมีการเจริญเติบโตและสร้างกิ่งย่อยแตกแขนงออกจากต้นแม่ (rhizome) แบบสลับกัน (alternate) เมื่อต้นแม่แก่จัดจะมีสีเขียวเข้ม แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้้าตาล ซึ่งแสดงว่าต้นแม่อันเดิมนั้นหมดอายุลง กิ่ง แขนงย่อยจะหลุดออกมาเป็นต้นใหม่ที่มีขนาดเล็กและเจริญเติบโตเป็นเป็นต้นใหม่ต่อไป ดังนั้นจึงมีวิธีการที่สามารถ กระตุ้นให้เกิดการแตกตัว และหลุดออกของกิ่งแขนง เช่น การใช้แขนงไม้ตีแหนแดงเบา ๆ จะท้าให้มีการแยกส่วนของ แขนงแตกออกจากต้นเดิม (fragmentation) ท้าให้การขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การขยายพันธุ์ทั้ง 2 วิธี สามารถเพิ่มปริมาณของแหนแดงเป็น 2 เท่าจากเดิมในเวลา 3–6 วัน ขึ้นกับความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม