ต้นโกฐจุฬาลัมพาหรือต้นชิงเฮา ปลูกในถุงดําพร้อมไปปลูกต่อได้เลยค่ะสรรพคุณของโกฐจุฬาลัมพาแพทย์แผนโบราณของจีนจะใช้โกฐจุฬาลัมพา (ในข้อมูลอ้างว่าเป็นชนิด Artemisia annua L.) เป็นยาแก้ไข้จับสั่น แก้ไข้อันเกิดจากความร้อนในฤดูร้อน แก้ไข้ต่ํา ๆ ที่ไม่มีเหงื่อ แก้ไข้อันเนื่องมาจากวัณโรค และใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร ส่วนตํารายาไทยจะใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้เจลียง (ไข้จับวันเว้นวัน ซึ่งเป็นไข้จับสั่นประเภทหนึ่ง) แก้ไข้เพื่อเสมหะ ช่วยลดเสมหะ แก้ไข้มาลาเรีย แก้หืด แก้หอบ แก้ไอ ช่วยขับเหงื่อ และใช้เป็นยาแก้ดีซ่าน คุณสามารถอ่านสรรพคุณและประโยชน์ของต้นชิงเฮาได้อย่างละเอียดที่บทความนี้ ชิงเฮาทั้งต้นแห้ง (ในหนังสืออ้างว่าเป็นชนิด Artemisia vulgaris L.) มีรสเผ็ดขม สุขุม เป็นพืชไม่มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อธาตุ ตับ และไต ใช้เป็นยารักษาเลือดลมผิดปกติ แก้ไข้ที่มีเสมหะ แก้ไอ แก้หืด แก้ไข้เจรียง (ไข้ที่มีเม็ดผื่นคันขึ้นตามตัว เช่น เหือดหัด, สุกใส, ดําแดง, รากสาด, ประดง) ช่วยขับลม แก้ท้องขึ้นจุกเสียด ปวดแน่นท้อง ใช้แก้ประจําเดือนผิดปกติหรือประจําเดือนมาไม่ปกติ มีอาการปวดท้องน้อย แก้อาการปวดประจําเดือนเนื่องจากเลือดคั่งในมดลูก เป็นยาบํารุงครรภ์ของสตรี ใช้เป็นยาห้ามเลือด ห้ามเลือดกําเดาและตกเลือด แก้โรคบิดถ่ายเป็นเลือด ขับความเย็นชื้นของร่างกาย ชาตามมือตามเท้า ด้วยการใช้ต้นแห้งครั้งละ 3-10 กรัม นํามาต้มกับน้ํารับประทาน หรือใช้ภายนอกเป็นยาแก้โรคผิวหนังผดผื่นคันก็ได้ (การนํามาใช้ภายนอก ให้ใช้ได้ตามความต้องการ)[3],[4]ตํารับยาแก้ผื่นคันและมีอาการคันตามผิวหนัง จะใช้โกฐจุฬาลัมพา 35 กรัม, ตี้ฟูจื่อ 20 กรัม, แปะเสียงพ๊วย 20 กรัม และพริกหอมอีก 10 กรัม นํามาต้มกับน้ํา แล้วใช้ไอน้ําอบตัวตํารับยารักษาผู้มีอาการปวดมดลูก ตกเลือด จะใช้โกฐจุฬาลัมพา 6 กรัม นํามาเข้าตํารายากับหัวแห้วหมู 15 กรัม, แปะเจียก 15 กรัม, โกฐเชียง 10 กรัม และง่วนโอ๊ว 10 กรัม นํามาต้มกับน้ํารับประทานตํารับยารักษาอาการปวดเอ็น ปวดข้อ ปวดกระดูก จะใช้โกฐจุฬาลัมพาม้วนเป็นเส้นแล้วจุดไฟเผาแล้วนําไปลนที่หัวเข็มตอนฝังเข็ม จะทําให้ตัวยาซึมเข้าผิวหนังส่วนอีกข้อมูลนั้นระบุว่า โกฐจุฬาลัมพา (ในหนังสืออ้างว่าเป็นชนิด Artemisia vulgaris L.) ในส่วนของใบนั้นจะใช้เป็นยาขับเหงื่อ ขับลมในลําไส้ แก้ท้องร่วง ถ่ายพยาธิ ขับปัสสาวะ ช่วยบํารุงมดลูก ช่วยทําให้ประจําเดือนมาเป็นปกติ ระงับอาการปวดท้องและอาการเจ็บท้องคลอดลูก ถ่ายน้ําเหลืองเสีย แก้ไขข้ออักเสบ และช่วยระงับอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ด้วยการใช้ใบนํามาต้มเอาแต่น้ําดื่ม ส่วนการใช้ภายนอกจะใช้ใบสดนํามาตําให้ละเอียดแล้วนําไปพอกแก้โรคปวดศีรษะ รักษาบาดแผลเรื้อรัง แก้อาการเคล็ดบวม และใช้สูบควันแก้โรคหืด ในส่วนใบและช่อดอก จะนํามาต้มเอาน้ําดื่มเป็นยาแก้ขับเสมหะ แก้หืด และอาหารไม่ย่อยในบัญชียาจากสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้เดิม ตามประกาศของคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) มีปรากฏการใช้สมุนไพรโกฐจุฬาลัมพาในหลายตํารับ ได้แก่ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือยาแก้ลม ซึ่งมีปรากฏในตํารับ ยาหอมเทพจิตร และตํารับ ยาหอมนวโกฐ ที่มีส่วนประกอบของโกฐจุฬาลัมพาอยู่ในพิกัดโกฐทั้งเก้าร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตํารับ โดยมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน และแก้ลมจุกแน่นในท้อง และในยาแก้ไข้ก็มีปรากฏในตํารับ ยาจันทน์ลีลา และตํารับ ยาแก้ไข้ห้าราก ที่มีส่วนประกอบของโกฐจุฬาลัมพาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตํารับ โดยมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดูโกฐจุฬาลัมพาเป็นสมุนไพรที่มีการนํามาใช้ในตํารับยาแผนโบราณของไทยหลายตํารับ และได้มีการนํามาใช้ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า พิกัดโกฐ โดยโกฐจุฬาลัมพานั้นจัดอยู่ใน โกฐทั้งห้า (เบญจโกฐ), โกฐทั้งเจ็ด (สัตตโกฐ) และ โกฐทั้งเก้า (เนาวโกฐ) ซึ่งมีสรรพคุณโดยรวมคือเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้สะอึก แก้ลมในกองธาตุ ช่วยขับลม ใช้เป็นยาชูกําลัง บํารุงโลหิต และบํารุงกระดูกอย่างไรก็ตาม โกฐจุฬาลัมพาที่ใช้เป็นเครื่องยานั้นแท้จริงแล้วมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artemisia pallens โดยเป็นเครื่องยาที่มีรสสุขุม หอมร้อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้เจลียง (ไข้จับวันเว้นวัน), ไข้เจรียง (ไข้ที่มีเม็ดผื่นขึ้นตามตัว เช่น เหือดหัด สุกใส ดําแดง รากสาด ประดง), แก้ไข้เพื่อเสมหะ, แก้ไข้จับ, แก้หืด, แก้ไอ, ใช้เป็นยาขับเหงื่อ, เป็นยาเจริญอาหาร, เป็นยาระบาย, เป็นยาเร่งประสาทส่วนกลางเหมือนการบูร, แก้ตกเลือด, ช่วยขับลม, ใช้ตําพอกแก้ลม แก้อาการช้ําใน แก้ปวดเมื่อยรูมาติก, แก้บิด, แก้อาการปวดท้องหลังคลอด และแก้ระดูที่มากเกินไปของสตรี ซึ่งโกฐจุฬาลัมพาชนิดนี้นั้นเป็นเครื่องยาที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในตํารับยาไทย เช่น ตามบัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ.2544 กลุ่มยาแผนไทยหรือยาแผนโบราณ 50 รายการ มีโกฐจุฬาลัมพาเป็นส่วนประกอบอยู่มากถึง 13 ตํารับ