>>กากน้ําตาล (molasses) คือ เป็นของเหลวที่มีลักษณะข้นเหลวสีน้ําตาลดํา ที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ําตาลทรายจากอ้อย การผลิตน้ําตาลจากอ้อยจะได้ส่วนของกากน้ําตาล 4-6 % กากน้ําตาลจะมีปริมาณน้ําตาล ประมาณ 50-60% >>กากน้ําตาล การปุ๋ยหมักชีวภาพ -กากน้ําตาลใช้เป็นส่วนผสมของหญ้าหมัก หรือใช้ผสมในอาหารข้น เพื่อเพิ่มแหล่งคาร์โบไฮเดรต และเป็นส่วนสําคัญที่ช่วยกระตุ้นการหมักให้เกิดรวดเร็วมากขึ้น เพราะช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียผลิตกรด [3] นอกจากนั้น ยังช่วยปรับปรุงรสของอาหารหยาบ และส่งเสริมการเติบโตของแบคทีเรียในกระเพาะ -กากน้ําตาลใช้เป็นส่วนผสมของปุ๋ยหมักหรือสารปรับปรุงดิน เพราะในกากน้ําตาลมีธาตุอาหารที่ครบถ้วน - กากน้ําตาลใช้เป็นส่วนผสมของน้ํามักชีวภาพ เป็นแหล่งอาหารสําคัญเพื่อให้จุลินทรีย์ผลิตกรดเติบโต และช่วยปรับปรุงคุณสมบัติ ทางธาตุอาหาร และกลิ่นของน้ําหมัก 4 สูตรน้ําหมักชีวภาพยอดนิยม สูตรที่ 1 สําหรับพืชกินใบ วัสดุประกอบด้วย 1) พืชสด และ 2) กากน้ําตาล อัตราส่วน
3 : 1 วิธีทํา ใช้พืชที่มีลักษณะสด ใหม่ สมบูรณ์ อวบน้ํา โตเร็ว ไม่มีโรค (เน่า) ทุกส่วนๆ ละไม่มากนัก จากพืชหลายๆ ชนิด ทั้งพืชที่กินได้และวัชพืช นํามาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดละเอียดให้ได้ปริมาณ 3 ก.ก แล้วบรรจุเศษพืชที่ได้ลงในภาชนะ และเติมกากน้ําตาลลงไป 1 ลิตร คนหรือเขย่าให้เข้ากัน ให้เศษพืชจมอยู่ในกากน้ําตาลตลอดเวลา ปิดฝาภาชนะ เก็บไว้ในที่มืด อุณหภูมิห้องนาน 7 วัน สามารถนําไปใช้ได้ การปฏิบัติระหว่างการหมัก เขย่าภาชนะที่หมักพร้อมกับเปิดฝา วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น เมื่อครบ 7 วัน ให้ดมกลิ่น ถ้าหอมหวานแสดงว่า ดี สามารถนําไปได้ ถ้าบูดเปรี้ยวแสดงว่า ไม่ดี ให้แก้ไขด้วยการเติมกากน้ําตาล หรือของที่ใส่ครั้งแรกแล้วหมักต่ออีก 3 วัน ถ้ามีกลิ่นหอมหวานก็แสดงว่า ดี ถ้ามีกลิ่นบูดเปรี้ยวอีกให้เติมน้ําตาลอีกแล้วหมักต่อไปจนกว่าจะมีกลิ่นหอมหวาน เมื่อได้น้ําหมักที่ดีแล้วให้เก็บไว้ในที่มืดภายใต้อุณหภูมิห้อง เก็บได้นาน 6 เดือน - 1 ปี ระหว่างเก็บหากมีกลิ่นบูดเปรี้ยวให้เติมกากน้ําตาลลงไป อัตราและวิธีการใช้น้ําหมักชีวภาพ 1) พืชผักสวนครัว พืชไร่ ไม้ผลยืนต้น ให้ทางใบ อัตราส่วน 15-20 ซี.ซี./น้ํา 20 ลิตร ทุกๆ 5-7 วัน ควบคู่กับให้ทางราก 30-50 ซี.ซี./น้ํา 20 ลิตร ทุกๆ 15-20 วัน 2) เตรียมดินแปลกปลูก หรือหลุมปลูกไม้ผล อัตราส่วน 30-50 ซี.ซี./น้ํา 20 ลิตร ผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 3) ใช้แทนสารเร่งปุ๋ยหมัก อัตราส่วน 75-100 ซี.ซี./น้ํา 20 ลิตร พรมลงบนวัสดุทําปุ๋ยหมัก 4) กําจัดน้ําเสียโดย อัตราส่วน 75-100 ซี.ซี./น้ํา 20 ลิตร ราดให้ทั่วบริเวณน้ําเสียหรือในคอกปศุสัตว์ 5) เพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์ อัตราส่วน 15-20 ซี.ซี./น้ํา 20 ลิตร แช่เมล็ดพันธุ์พอท่วมก่อนเพราะเป็นเวลา 12 ชั่วโมง การต่อเชื้อน้ําหมักชีวภาพ ใช้หัวเชื้อน้ําหมักชีวภาพ 1 ส่วน กากน้ําตาล 1 ส่วน น้ําสะอาด 10 ส่วน ผสมให้เข้ากันดี ปิดฝาภาชนะเก็บไว้ในที่มืด ภายใต้อุณหภูมิห้อง นาน 3 วัน ตรวจสอบกลิ่นตามครั้งแรก เคล็ดลับ เรื่องน้ําหมักชีวภาพ หลังการหมัก 3 วันแรก เปิดฝาออกดูถ้ามีแก๊สพุ่งออกมาแสดงว่า มีส่วนผสมดีพยายามเปิดฝาระบายแก๊สบ่อยๆ ถ้าไม่เปิดภาชนะที่หมักอาจระเบิดได้ กรณีถ้าไม่มีกากน้ําตาลสามารถใช้น้ําตาลทรายแดงได้ โดยเพิ่มปริมาณน้ําตาลแดงเป็น 1
ส่วน : เศษพืช 1 ส่วน การใช้น้ําหมักชีวภาพทางราก ควรใช้ควบคู่ไปกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเสมอ โดยการใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก 6 เดือน/ครั้ง สูตร 1 เหมาะสําหรับพืชกินใบ ตัวอย่างพืชสดสูตร 1 ผักบุ้ง กวางตุ้ง ผักขม ผักเสี้ยน หน่อไม้ฝรั่ง ยอดชะอม ยอดกระถิน ยอดมันเทศยอดมะ